ศาลาไทยในงานเวนิสเบียนนาเล ครั้งที่ 16
ประเทศไทยส่งผลงาน "Blissfully Yours" เข้าร่วมแสดง “นิทรรศการสถาปัตยกรรมนานาชาติ - เวนิส เบียนนาเล ครั้งที่ 16” (16th International Architecture Exhibition - La Biennale di Venezia) ในวันที่ 26 พฤษภาคม – 25 พฤศจิกายน 2561 ณ นครเวนิส สาธารณรัฐอิตาลี ภายใต้แนวคิด “Free Space” โดย Yvonne Farrell และ Shelley McNamara เป็นภัณฑารักษ์ของงาน
“นิทรรศการสถาปัตยกรรมนานาชาติ - เวนิส เบียนนาเล ครั้งที่ 16” (16th International Architecture Exhibition - La Biennale di Venezia) จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม – 25 พฤศจิกายน 2561 ภายใต้แนวคิด “Free Space” โดย Yvonne Farrell และ Shelley McNamara เป็นภัณฑารักษ์ของงาน ณ นครเวนิส สาธารณรัฐอิตาลี โดยจัดประจำทุกๆ 2 ปี ซึ่งนิทรรศการหลักจะแบ่งเป็น 2 โซน คือ จิอาดินี (Giardini) และ อาเซนาเล (Arsenale) ทั้งยังกระจายไปยังสถานที่ต่างๆ ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในใจกลางเมืองเวนิส ในปีนี้มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมจัดแสดง 63 ประเทศ
ประเทศไทยได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานครั้งแรกในปีพ.ศ.2553 (ค.ศ.2010) ซึ่งศาลาไทย (Thai Pavilion) จะตั้งอยู่ในอาคารอาร์เซนาเล (Arsenale) เป็นอาคารอนุรักษ์ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และเป็นสถานที่จัดนิทรรศการหลักของงาน โดยมีสถิติผู้เข้าชมงานครั้งที่แล้ว เมื่อปีพ.ศ.2559 ราว 300,000 คน
ในปีนี้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นครั้งที่ 5 โดยสำนักงานศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้คัดเลือกผลงานไปจัดแสดงภายใต้ชื่อ "Blissfully Yours" ซึ่งนำมาจากชื่อภาพยนตร์ของอภิชาติพงศ์ วีระเศรฐกุล (Aphichatphong Wirasetthakun) ประกอบด้วยการนำเสนอภาพเคลื่อนไหวงานสถาปัตยกรรม 9 ผลงาน และภาพถ่ายจากช่างภาพสมัครเล่น ดังนี้
- Sathorn Unique Building เป็นอาคารสูงใช้พักอาศัย แต่วิกฤติเศรษฐกิจ เมื่อปีพ.ศ.2540 ทำให้ก่อสร้างไม่เสร็จ กลายเป็นตึกร้าง ทว่าความสัมพันธ์ระหว่างคนและอาคารได้ดำเนินมาตลอดเวลา
- New World Shopping Mall แสดงถึงความไม่ย่อท้อต่อปัญหาของชุมชนและสถาปัตยกรรม เมื่อห้างสรรพสินค้าเลิกกิจการกลายเป็นตึกร้าง ต่อมามีน้ำขังในชั้นล่างทำให้กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง คนในชุมชนจึงนำปลาไปปล่อยไว้เพื่อกำจัดยุง จนพื้นที่ภายในเกิดวิถีชีวิตใหม่อย่างไม่น่าเชื่อ
- Public Transit Lounge เป็นการทดลองของกลุ่มสถาปนิก ASA CAN (กลุ่มสถาปนิกของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ที่เน้นการทำกิจกรรมกับชุมชน) บนสมมติฐานที่ว่า วัสดุที่พบเห็นทั่วไปและเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยมายาวนานอย่าง “เสื่อ” จะเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่สาธารณะให้น่าสนใจขึ้นได้อย่างไร
- Rom Hoop Market ความถ้อยทีถ้อยอาศัยและการอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชน ตลาด และรถไฟ เป็นความสัมพันธ์ที่น่าสนใจ ได้ทำให้ “ตลาดร่มหุบ” กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการกล่าวขาน
- Melayu Living เป็นการนำเสนอการมองโลกแง่ดีของกลุ่มสถาปนิกในเขตสามจังหวัดชายแดนใต้ ที่แม้ว่าภายในพื้นที่จะขัดแย้งรุนแรงมานานและยังไม่สงบ สถาปนิกได้จัดสร้างพื้นที่อเนกประสงค์จากตึกเก่า ทำให้ผู้คนหลายเชื้อชาติศาสนามารวมตัวกันทำกิจกรรม นิทรรศการ การเสวนา การสัมมนา เป็นต้น
- Black House เป็นบ้านห้องแถวธรรมดาที่สะท้อนให้เห็นถึงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของสถาปัตยกรรม แม้จะเป็นอาคารส่วนบุคคล แต่สถาปนิกได้ออกแบบพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกต้นไม้รอบบ้านจนร่มครึ้มเผื่อแผ่ไปยังเพื่อนบ้านโดยรอบ เป็นการจุดประกายให้ทั้งซอยกลายเป็นพื้นที่สีเขียวในที่สุด
- The Flow เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ที่สถาปนิกปล่อยให้ผู้ใช้งานตีความเอง ด้วยการนำเสนอภาพสิ่งที่สถาปนิกได้วางแผนไว้ เปรียบเทียบกับภาพที่เกิดขึ้นจากการใช้งานของผู้คนผ่านกล้องวงรปิด (CCTV)
- 10 Cal มีลักษณะเป็นบันไดวน สร้างป็นจุดชมวิวริมทะเล แต่เมื่อผู้คนไปใช้จริง ได้กลายเป็นสถานที่ออกกำลังกาย ที่ซ้อมเดินแบบ เงาของตัวอาคารทำให้สนามหญ้าด้านล่างกลายพื้นที่พบปะและทำกิจกรรมชองคนละแวกนั้น โดยสถาปนิกไม่ได้ตั้งใจมาก่อน
- Co-creation ถนนเจริญกรุงได้รับการปรับปรุงให้กลายเป็นย่านสร้างสรรค์ (Creative District) โดยมีอาคาร TCDC เป็นศูนย์กลาง สถาปนิกได้สร้างสวนสาธารณะบริเวณลานหน้าอาคาร TCDC ที่ใช้งานได้เพียง 7 วัน ก็รื้อทิ้ง ด้วยเหตุผล “บดบังอาคารประวัติศาสตร์ที่งดงามและทรงคุณค่า”
- Photo essay ช่างภาพสมัครเล่น 4 คน ผ่านการประกวดคัดเลือกจากสมาคมสถาปนิกสยามฯ ในแนวคิด “Free Space”
ม.ล.วรุตม์ วรวรรณ ผู้นำกลุ่มภัณฑารักษ์ทั้งหมด 7 คน ที่คัดเลือกผลงานในครั้งนี้กล่าวว่า ผลงานทั้งหมดคือส่วนหนึ่งของภาพสะท้อนการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่และคนในสังคมไทย มีแง่มุมให้เรียนรู้และตั้งคำถามถึงพื้นที่ในมิติที่คาดไม่ถึง เพราะ “มนุษย์” คือความซับซ้อนหลากหลาย ภายใต้บริบทของเมืองและสังคม สถาปัตยกรรมและพื้นที่ต่างๆ อาจจะออกแบบขึ้นมารองรับความต้องการของเจ้าของ แต่เมื่อได้ใช้งานจริง ก็จะปรับเปลี่ยนสภาพไปโดยคนในสังคมอย่างอิสระ
PAOLO BARATTA
President Paolo Baratta stated:
«As was the case for the previous editions of Biennale Architettura, we continue our investigation into the relationship between architecture and civil society. The divide between architecture and civil society, caused by the latter's increasing difficulty in expressing its own needs and finding appropriate answers, has led to dramatic urban developments whose main feature is the marked absence of public spaces, or the growth of other areas dominated by indifference in the suburbs and peripheries of our cities.
The absence of architecture makes the world poorer and diminishes the level of public welfare, otherwise reached by economic and demographic developments. To rediscover architecture means to renew a strong desire for the quality of the spaces where we live, which are a form of public wealth that needs to be constantly protected, renovated and created.
This is the path taken by the next Biennale Architettura.»