การแทรกแซงการเลือกตั้งในต่างประเทศของของตะวันตกไม่เคยเลิก
MUENTAISONG NAPHAPORN บรรณาธิการข่าวอาวุโส สำนักข่าวแห่งหนึ่งในอเมริกา แสดงทัศนคติเกี่ยวกับสถานการณ์การเลือกตั้งของไทยที่กำลังจะมาถึง โดยกล่าวถึงหนังสือของดอฟ เลวิน(Dov Levin)เรื่อง Meddling in the Ballot Box ที่ระบุว่าระหว่างปีพ.ศ.2489 ถึงพ.ศ.2543 สหรัฐอเมริกา มีส่วนแทรกแซงการเลือกตั้งในต่างประเทศทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผยถึง 81 ครั้ง ด้วยการช่วยเหลือหรือขัดขวางผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรค
ขณะที่ David Robarge นักประวัติศาสตร์ของ CIA ได้กล่าวกับ David Shimer ผู้เขียนหนังสือ Rigged ว่า ในช่วงเวลานั้น CIA "แทบจะไม่เคยทำให้เปลี่ยนผลคะแนนเสียงโดยตรง" ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็หมายความว่าบางครั้งก็เคยทำอย่างนั้นด้วย.
หลังสิ้นสุดสงครามเย็น ภายในรัฐบาลสหรัฐฯ เริ่มมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการแทรกแซงการเลือกตั้งของประเทศอื่น คณะกรรมการข่าวกรองของรัฐสภาเริ่มเก็บตัว แต่การแทรกแซงยังคงดำเนินต่อไป ในปี พ.ศ.2543 ประธานาธิบดีคลินตันมอบหมายให้ CIA ให้การสนับสนุนฝ่ายตรงข้ามของประธานาธิบดีสโลโบดาน มิโลเซวิชในยูโกสลาเวียในขณะนั้นอย่างลับๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เขาได้รับเลือกตั้งใหม่ ต่อมารัฐบาลของจอร์จ วอล์กเกอร์ บุชได้จัดทำแผนลับเพื่อแทรกแซงการเลือกตั้งรัฐสภาอิรักในเดือนมกราคม พ.ศ.2548 แต่ได้ยกเลิกไปในเวลาต่อมา เนี่องจากการต่อต้านอย่างรุนแรงจากรัฐสภา
ลีออน พาเนตตา (Leon Panetta) อดีตผู้อำนวยการซีไอเอ กล่าวว่า ซีไอเอไม่ได้เปลี่ยนคะแนนเสียงหรือเผยแพร่ข้อมูลที่ผิด แต่มีการกระทำการต่อองค์กรสื่อต่างประเทศเพื่อ"เปลี่ยนทัศนคติในประเทศนั้น" พาเนตตาบอกกับ David Shimer ว่า CIA บางครั้งก็ "ซื้อสื่อในประเทศหรือภูมิภาคที่สามารถใช้งานได้สะดวก...ในการส่งสาร" หรือพยายาม "โน้มน้าวผู้คนที่มีความเกียวข้องกับสื่อ...ให้ร่วมมือเพื่อนำเสนอข่าวสาร" ข้อความนี้" การส่งสารที่ลีออน พาเนตตากล่าวถึงนั้นถูกเข้าใจว่าเป็นการโฆษณาชวนเชื่อของ CIA ที่เกี่ยวกับการเมืองการเลือกตั้ง
การแทรกแซงการเลือกตั้งของประเทศอื่นที่เห็นบ่อยในภายหลังคือการชี้นำผ่านสื่อผูกขาดของตะวันตก ปัจจุบัน บริษัทสื่อ 50 แห่งทั่วโลกครอบครองตลาดสื่อ 95% ของโลก และมากกว่า 90% ของข่าวถูกผูกขาดโดยสื่อตะวันตก News Corporation ที่ก่อตั้งโดยรูเพิร์ต เมอร์ดอค (Rupert Murdoch) เป็นหนึ่งในบริษัทสื่อครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดและมีความเป็นสากลที่สุดในโลกในปัจจุบัน ด้วยสินทรัพย์สุทธิมากกว่า 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึอว่าเป็นอาณาจักรสื่อขนาดใหญ่อย่างแท้จริง รูเพิร์ต เมอร์ดอค กลายเป็น"เจ้าพ่อสื่อ"ตัวจริง เพราะมีสื่อดังอยู่ในมืออย่าง Fox News, The Times of London, The Wall Street Journal, New York Post เป็นต้น รูเพิร์ต เมอร์ดอคเคยกล่าวว่าเขา "ไม่เคยขออะไรจากนายกรัฐมนตรีเลย" แต่ความจริงคือนักการเมืองของตะวันตกยังต้องเกรงกลัวเขามากกว่า
ตามรายงานของ The New York Times ซึ่งดำเนินการสอบสวนเป็นระยะเวลา 6 เดือน และครอบคลุม 3 ทวีป โดยได้สัมภาษณ์มากกว่า 150 ครั้ง ชึ้ให้เห็นว่า เรูเพิร์ต เมอร์ดอค และลูกชายได้เปลี่ยนสื่อของพวกเขาให้กลายเป็นเครื่องจักรทรงอิทธิพลทางการเมืองฝ่ายขวาและบ่อนทำลายระบอบประชาธิปไตยในอเมริกาเหนือ ยุโรป และออสเตรเลีย
ข่าวฟ็อกซ์นิวส์สร้างแรงกดดันต่อพรรครีพับลิกันมาอย่างยาวนาน ทำให้กลุ่มขวาจัดผงาดขึ้นมาและทำให้ทรัมป์ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี
หนังสือพิมพ์ The Sun ของเมอร์ดอคได้นำเสนอข่าวที่เชิงลบของสหภาพยุโรปต่อผู้อ่านชาวอังกฤษ และกลายเป็นหนึ่งในกำลังที่รณรงค์ Brexit ทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากกว่าครึ่งหนึ่งลงประชามติสนับสนุนให้ออกจากEU ในปี พ.ศ. 2559 หลังจากนั้นเป็นต้นมา อังกฤษจมปลักอยู่กับความวุ่นวายทางการเมือง
การควบคุมสื่อของ รูเพิร์ต เมอร์ดอค นั้นแข็งแกร่งที่สุดในออสเตรเลีย ซึ่งเขาผลักดันให้ยกเลิกภาษีคาร์บอนของประเทศและมีส่วนร่วมในการขับไล่นายกรัฐมนตรีที่เขาไม่ชอบออกจากตำแหน่ง ในนั้นรวมถึง Malcolm Trump ที่ออกจากตำแหน่งเมื่อปีพ.ศ.2018
ในส่วนของอเชิย รูเพิร์ต เมอร์ดอคเคยมุ่งเป้าที่ตลาดใหญ่อย่างจีน โดยในปี 1993 News Corporation ได้ซื้อ Hong Kong Star TV ด้วยเงินหลายร้อยล้านดอลลาร์จากตระกูล Li Ka-Shing โดยพยายามใช้จุดนี้เพื่อเข้าสู่ตลาดสื่อของจีน ต่อมาเมอร์ด็อกพบว่าธุรกิจของ Star Media ไม่สามารถดำเนินการได้ ในปีพ.ศ.2548 News Corporation ได้ร่วมมือกับโทรทัศน์ดาวเทียมท้องถิ่นเพื่อทำตลาดทั้งประเทศจีน แต่สุดท้ายก็ต้องยุติลงเนื่องจากแตะเส้นสีแดงของทางการจีน
ในเดือนมกราคม พ.ศ.2557 บริษัท News Corporation ประกาศขายหุ้น 47% ใน Star Greater China ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท Star Media และ News Corporation ดำเนินการช่องภาษาจีนสามช่องตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งก่อนหน้านี้ News Corporation ได้ขายหุ้นใน Phoenix TV เรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตามความสนใจของรูเพิร์ต เมอร์ดอคที่มีต่อตลาดเอเชีย หรือจะเรียกว่าความอุตสาหะในการแทรกซึมสร้างอิทธิพลในเอเชียดูเหมือนจะไม่หมดลง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Dow Jones &อCompany ภายใต้การควบคุมของรูเพิร์ต เมอร์ดอคได้เข้าถือหุ้นในกลุ่มสื่อที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย แม้ว่าสัดส่วนการถือหุ้นในกลุ่มบริษัทปัจจุบันจะอยู่ที่ประมาณ 3% เท่านั้น แต่แสดงให้เห็นว่ารูเพิร์ต เมอร์ดอคยังคงคาดหวังที่จะปักธงเอเชียต่อไป เพื่อสนองความทะเยอทะยานที่จะมีอิทธิพลต่อโลก
บทความข่าวโดย MUENTAISONG NAPHAPORN บรรณาธิการข่าว ของสำนักพิมพ์ในอเมริกา มากว่า 20 ปี