ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ค้นหาบทความ / Article Search

dot


Motor Expo 2024
WorkshopPhotography
UranusV-Reflection
Thainess Capital
Comme c’est bon
nawarat
IconM
THE THAI REAL ESTATE ASSOCIATION
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
AREA
ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
สมาคมการผังเมืองไทย
icons
Realist
Smart Living
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สมาคมธนาคารไทย
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
TAT
ATTA
Tourism Council of Thailand (TCT)
The Royal Automobile Association of Thailand under Royal Patronage
The Thailand Automotive Institute (TAI)
The45thBIMS2024
BIMS2023
MotorExpo2023
MotorExpo2022
BIMS2022
Motor Show 2019
MotorExpo2020
MotorExpo2019
MotorExpo2018
Food4Change
มูลนิธิสุขภาพไทย
Thaicityfarm
Thai Green Market
Center Market
Sustainable Agriculture
Agri-nature Foundation
Sustainable Agriculture Foundation (Thailand)
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมหม่อนไหม
กรมส่งเสริมอุสาหกรรม
Thai Textile
SACICT
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย
IconM
IconM News : G+
Oknation-lumnamsiam
Tarot Life Coach


เศรษฐกิจพอเพียง มุมมองจากฐานรากที่ต่างกัน

เศรษฐกิจพอเพียง มุมมองจากฐานรากที่ต่างกัน

โดย อาจารย์ยักษ์ มหาลัยคอกหมู

http://www.agrinature.or.th/

8 ตุลาคม 2010 เวลา 9:55 น.

 

บันได 9 ขั้นสู่เศรษฐกิจพอเพียง

 

“...เศรษฐกิจพอเพียงนั้นเขาตีความว่าเป็นเศรษฐกิจชุมชนหมายความว่าให้พอเพียงในหมู่บ้าน หรือในท้องถิ่น ให้สามารถที่จะมีพอกิน เริ่มด้วย "พอมีพอกิน" พอมีพอกินนี้ได้พูดมาหลายปี ๑๐ กว่าปีมาแล้วให้พอมีพอกิน แต่ว่าพอมีพอกินนี้เป็นเพียงเริ่มต้นของเศรษฐกิจ เมื่อปีที่แล้วบอกว่า ถ้าพอมีพอกิน คือ พอมีพอกินของตัวเองนั้น ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจสมัยหิน สมัยหินนั้นเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกันแต่ว่าค่อย ๆ พัฒนาขึ้นมา...”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต

วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒

---------------------------------------------------------------------

สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ หนึ่งในภาคีเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง

ที่มุ่งมั่นปฏิบัติตามหน้าที่ของความเป็น “ราชภัฏ” อันมีความหมายว่า “คนของพระราชา” มุ่งมั่นทำตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.๒๕๔๗” ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๗ มาตรา ๗ ซึ่งระบุว่า  “ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน...”

 

และมีหน้าที่ในการ “ศึกษา วิจัย ส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริในการปฏิบัติ” ตามมาตรา ๘ กำหนดภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัยใน (๘) จึงได้ร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง และมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ทำการรวบรวมแนวทางการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กำหนดเป็นยุทธวิธีในการแปลงทฤษฎีสู่การปฏิบัติ เรียนกว่า “ทฤษฎีบันได ๙ ขั้นสู่ความพอเพียง” เพื่อเผยแพร่สู่ประชาชน ดังโปสเตอร์ด้านบน

 

ทฤษฎีบันได ๙ ขั้นสู่ความพอเพียงนี้ สามารถปรับประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทและสิ่งแวดล้อมของแต่ละกลุ่มคน แต่ละอาชีพได้

โดยยึดหลักการเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นก้าวแรก คือ ตอบคำถามตนเองให้ได้ว่า “ทำอย่างไร ให้พออยู่ พอกิน พอใช้ และพอร่มเย็น”

เมื่อประสบความสำเร็จแล้วจึงก้าวเข้าสู่ขั้นของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้า คือ การทำบุญ ทำทาน รู้จักเก็บรักษา แปรรูป

แล้วจึงทำการค้า และทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายเพื่อให้มีพลังในการผลักดันแนวคิดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมได้อย่างแท้จริง

 

จากความสำเร็จของกลุ่มที่ริเริ่มนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ คือ กลุ่มเกษตรกร

ในปัจจุบันได้ขยายไปยังกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเยาวชนที่เริ่มดำเนินการแล้วในหลายพื้นที่

กลายเป็นเครือข่ายยุวเกษตรโยธินที่หันกลับคืนสู่ผืนดินเพื่อยึดรากของประเทศกสิกรรมให้เป็นรากแห่งแผ่นดินสืบไป

นอกจากนั้นยังขยายเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม เริ่มจากอุตสาหกรรมบริการ สู่อุตสาหกรรมการผลิต และขยายผลสู่ภาคส่วนอื่นๆ ในสังคม 

 

เริ่มบันไดขั้นแรกด้วยการเปลี่ยน “ความคิด”

 

การจะก้าวสู่บันไดขั้นที่ ๑ ของบันได ๙ ขั้น เพื่อการเดินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จำเป็นที่จะต้องเข้าใจในรากฐานของแนวคิดที่ต่างกันกับ ความคิด ความเชื่อ และคุณค่าตามแนวทางทุนนิยมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 

ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง เป็นทฤษฎีที่อยู่ตรงกลางระหว่างทฤษฎีทุนนิยมที่สืบเนื่องจากการปฏิวัติการค้า และการปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดเป็นวิถีชีวิตแบบบริโภคนิยม กับ ทฤษฎีสังคมนิยม หรือชุมชนนิยม ซึ่งเป็นทฤษฎีขั้วตรงข้ามในยุคสงครามเย็น

 

ทุนนิยม เชื่อมั่นในทุน ให้คุณค่ากับ “เงิน” และกระตุ้นให้เกิดการบริโภคเพื่อการหมุนเวียนเงินในระบบที่เรียกว่า “ตลาด” เกิดเป็นมูลค่าการค้าขาย ส่งต่อรายได้เป็นตัวเงินกลับสู่คนทำงาน ที่จะกลับมาเป็นผู้บริโภคในตลาด ระบบเศรษฐกิจเป็นไปในทิศทาง “เศรษฐกิจตาโต”  

 

ชุมชนนิยม เชื่อมั่นในชุมชน ต่อต้านทุนนิยมอย่างสุดขั้ว และพยายามหนีให้ห่างโดยการขีดกำแพงกั้นทุนนิยมไม่ให้เข้ามาได้ ระบบเศรษฐกิจเป็นไปในแนวทางที่เรียกว่า “เศรษฐกิจชุมชน” 

 

เศรษฐกิจพอเพียง คือ ตรงกลางระหว่างทุนนิยมและชุมชนนิยม เพราะไม่ได้ปฏิเสธเงิน และไม่ได้ปฏิเสธการค้า แต่จะทำการค้าขายได้ต้องมีพออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น ทำบุญ ทำทาน เก็บไว้ใช้ในอนาคตก่อนแล้วจึง “ขาย” และต่างกันลิบลับกับเศรษฐกิจทุนนิยม ที่เน้น “ทำมาค้าขาย” ก่อนแล้วจึงนำเงินที่ได้ไปซื้อหาอาหาร

 

เมื่อรากฐานของความคิดความเชื่อต่างกัน ผลคือการปฏิบัติต่างกัน

 

เครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง เชื่อว่า

“เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาสิของจริง” นั่นหมายความถึง “การให้ความสำคัญกับอาหาร มากกว่าเงินทอง” ทำอย่างไรให้มีอาหารเพียงพอเลี้ยงตนเอง เลี้ยงครอบครัว พึ่งตนเองด้านอาหารได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเงิน

“ทานนั้นมีฤทธิ์จริง” เชื่อมั่นในฤทธิ์ของทาน และเชื่อว่า “ยิ่งให้ไปยิ่งได้มา” ความเชื่อนี้แปลงมาจากกระแสพระราชดำรัสเรื่อง “Our Loss is Our Gain” เป็นขั้นของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้า คือ การทำบุญ ทำทาน ให้กับครอบครัว ให้กับคนรอบข้าง ให้กับสังคม (ก่อนขั้นตอนของการเก็บรักษาเพื่ออนาคต และก่อนขั้นตอนของการขายเพื่อให้ได้เงิน)

 

เพียงความเชื่อ ๒ ประการนี้ ก็ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตอย่างมาก

หากเราเชื่อว่า “เงิน” นั้นไม่สำคัญ การทำงานทั้งหมดของเราก็เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่ไม่ใช่เงิน

และหากเรามุ่งมั่นที่จะก้าวเดินบนบันได ๙ ขั้นสู่ความพอเพียง การทำงานนั้นก็เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ ๔ ประการ

คือ “พอกิน พออยู่ พอใช้ พอร่มเย็น”

 

 

เศรษฐกิจพอเพียง จึงมีฐานความเชื่อที่ต่างไปจากคนจำนวนมากในสังคม ที่มี “แนวคิด” และ “มุมมองในการใช้ชีวิต”

ซึ่งได้รับการหล่อหลอมจากการศึกษาที่วางรากฐานจากความรู้จากตะวันตก

และการกำหนด “คุณค่า” ของสิ่งที่เป็นความสำคัญในชีวิตตามแนวทางทุนนิยม คือ เห็นทุนและเงินเป็นใหญ่

 

เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตในรูปแบบที่แตกต่างจากความคิด ความเชื่อของคนส่วนใหญ่

และถูกตั้งคำถามกลับจากทุกคนในแทบจะทันทีว่า “จะเป็นไปได้อย่างไรที่ชีวิตไม่ใช้เงิน”

 

แต่บทพิสูจน์ที่ทำได้จริงมีให้เห็นแล้ว และพวกเขามีความสุขกับชีวิตที่ไม่ยึดติดกับเงิน

รวมทั้งรอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตโรคระบาด วิกฤตภัยธรรมชาติ และวิกฤตความขัดแย้งทางสังคม (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ise.in.th)

 

เศรษฐกิจพอเพียง สอนให้คนกลับมาหาความเป็นจริงของชีวิต และฟื้นคืนคุณค่าของวิถีตะวันออกที่ยึดถือกันมาแต่โบราณ

คือ การให้ความสำคัญกับ “อาหาร” และคุณค่าคือศรัทธาในบุญ ในทาน มากกว่าคุณค่าของวัตถุคือเงิน

และหากจะลองเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสยามประเทศ จะเห็นได้ชัดเจนว่า ก่อนการเปลี่ยนแปลงประเทศจากสยามเก่าสู่สยามใหม่ “เงิน” หาใช่สิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับชาวสยามไม่ และแม้แต่ก่อนการเปลี่ยนแปลงประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย”

ก่อนการเข้ามาของกระแสโลกาภิวัตน์ “เงิน” เข้ามาเป็นตัวกลางในชีวิตประจำวันแต่ “เงิน” ก็ยังไม่ใช่พระเจ้า

และความเอื้ออาทรยังเป็นสิ่งที่หาได้ในสังคมไทย สยามยังเป็นสยามเมืองยิ้ม

และไทยแลนด์ยังเป็น Land of Smile ในความประทับใจของคนทั้งโลก 

 

 

 

 

 

 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




Farm2Food

แม็คโคร บุกสวนทั่วไทย รับซื้อผลไม้ฤดูกาล กว่า 7,750 ตัน
กระทรวงศึกษาธิการจับมือ สคช. ยกระดับเกษตรกรไทยผ่านอาชีวะเกษตร
รองนายกวิษณุ คุณหญิงกัลยา เปิดงาน “จากศาสตร์พระราชา ผสานศาสตร์สากล สู่การพัฒนาชีวิตยั่งยืน”
“ครูกัลยา” ปล่อยคาราวานแจกกล้าไม้ ๔๗,๐๐๐ กล้า ๔๗ วิทยาลัยเกษตรฯ ทั่วประเทศ
‘พาณิชย์’ ระดมความเห็นการจัดตั้งกองทุนเอฟทีเอ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
‘กรมเจรจาฯ’ เผย เอฟทีเอช่วยดันส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปไทย
‘วีรศักดิ์’ เตรียมทัพพาณิชย์ลงพื้นที่อีสานใต้ ช่วยเกษตรกร SME
แม็คโครร่วมมือกับสถาบันโภชนาการมหิดล
แทรกเตอร์อัจฉริยะขับเคลื่อนแบบไร้คนขับ
ปลื้มเกษตรกรภาคเหนือตอนล่างใช้ประโยชน์จาก FTA
ขยายตลาดสินค้าเกษตรไทยสู่ตลาดโลกด้วยเอฟทีเอ
ผนึกกำลังพันธมิตร บุกแม่ฮ่องสอน เสริมเกษตรกร เตรียมตลาดการค้าเสรี
เชิญประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนศาสตร์พระราชา สู่ โคก หนอง นาโมเดล ภาคอีสานอย่างยั่งยืน
CITY FARM @SHENZHEN
596 ACRES : PLATFORM ต้นแบบ LAND SHARING กลางนครนิวยอร์ก
เทศกาลสวนผักคนเมือง 2019 ครั้งที่ 5
‘กรมเจรจาฯ’ จัดให้ความรู้เกษตรกรใช้ประโยชน์จาก FTA ประสบความสำเร็จ
เปิดศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ จ.กำแพงเพชร เรียนรู้ "โคกหนองนาโมเดล"
‘บิ๊กตู่’สาธุ! ‘แซมดิน-โพธิรักษ์’ ขอให้แข็งแรง เป็นนายกฯอีก 2-3 สมัย
10 ปีเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด กับการรวมตัวครั้งสำคัญ
ถอดรหัส ๙ วิธีฟื้นฟูชาติ จากพระมหาชนก



email : iconminfo@gmail.com / Copyright © 2016 All Rights Reserved.
IconM