ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ค้นหาบทความ / Article Search

dot


The45thBIMS2024
WorkshopPhotography
UranusV-Reflection
Thainess Capital
Comme c’est bon
nawarat
IconM
THE THAI REAL ESTATE ASSOCIATION
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
AREA
ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
สมาคมการผังเมืองไทย
icons
Realist
Smart Living
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สมาคมธนาคารไทย
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
TAT
ATTA
Tourism Council of Thailand (TCT)
The Royal Automobile Association of Thailand under Royal Patronage
The Thailand Automotive Institute (TAI)
MotorExpo2023
BIMS2023
MotorExpo2022
BIMS2022
Motor Show 2019
MotorExpo2020
MotorExpo2019
MotorExpo2018
Food4Change
มูลนิธิสุขภาพไทย
Thaicityfarm
Thai Green Market
Center Market
Sustainable Agriculture
Agri-nature Foundation
Sustainable Agriculture Foundation (Thailand)
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมหม่อนไหม
กรมส่งเสริมอุสาหกรรม
Thai Textile
SACICT
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย
IconM
IconM News : G+
Oknation-lumnamsiam
Tarot Life Coach


Philips Future Health Index 2024 ฟิลิปส์เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ประจำปี
Philips Future Health Index 2024 
ฟิลิปส์เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ประจำปี 
ชี้เทรนด์เทคโนโลยี AI และ DATA มาแรง
ในกลุ่มผู้นำด้านเฮลท์แคร์ในเอเชียแปซิฟิก
หวังยกระดับการดูแลรักษาผู้ป่วย

กรุงเทพฯ - รอยัล ฟิลิปส์ (NYSE: PHG, AEX: PHIA) ผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพระดับโลก ได้เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ระดับโลกที่ใหญ่ที่สุดเป็นปีที่ 9 ติดต่อกันกับรายงาน Philips Future Health Index (FHI) 2024 ในหัวข้อ “Better care for more people” โดยได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้นำในวงการเฮลท์แคร์กว่า 3,000 คน จาก 14 ประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย เนเธอแลนด์ อิตาลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น

Philips Future Health Index 2024  ฟิลิปส์เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ประจำปี  ชี้เทรนด์เทคโนโลยี AI และ DATA มาแรง ในกลุ่มผู้นำด้านเฮลท์แคร์ในเอเชียแปซิฟิก หวังยกระดับการดูแลรักษาผู้ป่วย

• 71% ของผู้นำในวงการเฮลท์แคร์ในเอเชียแปซิฟิกชี้ว่าความล่าช้าในการดูแลรักษาผู้ป่วยมาจากปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์
• 93% บอกว่าพบอุปสรรคอย่างน้อย 1 อย่างในการเชื่อมต่อข้อมูลจากหลายแหล่งมารวมกัน 
แต่พวกเขายังคงเห็นความสำคัญของการเชื่อมต่อข้อมูลว่ามีประโยชน์ต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วย 
• เทคโนโลยี AI ถูกนำมาใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจทางคลีนิกมากขึ้น โดย 62% มีแผนที่จะลงทุนเพิ่มด้าน AI ภายใน 3 ปีข้างหน้า
 
โดยพบว่าผู้นำในวงการเฮลท์แคร์มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานผ่านการจัดลำดับความสำคัญของกระบวนการทำงาน การเชื่อมต่อข้อมูล (Data) และการใช้เทคโนโลยี AI เพื่อช่วยยกระดับการดูแลรักษาผู้ป่วย รับมือกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ความท้าทายด้านการเงิน และความต้องการรับบริการด้านสาธารณสุขที่เพิ่มขึ้น
 
Philips Future Health Index 2024  ฟิลิปส์เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ประจำปี  ชี้เทรนด์เทคโนโลยี AI และ DATA มาแรง ในกลุ่มผู้นำด้านเฮลท์แคร์ในเอเชียแปซิฟิก หวังยกระดับการดูแลรักษาผู้ป่วยดร. มาร์ค เบอร์บี รองประธานกลุ่มธุรกิจ Health Systems ฟิลิปส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า
 
“ปัญหาผู้ป่วยต้องรอนานเพื่อเข้ารับบริการด้านสาธารณสุขและปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงทีและเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้ยาก ดังนั้นเราจึงเห็นผู้นำในวงการเฮลท์แคร์พยายามที่จะพัฒนาและเปลี่ยนแปลง เพื่อส่งมอบบริการและการดูแลรักษาที่ดีขึ้นให้กับผู้คนได้มากขึ้น
 
โดยเฉพาะความพยายามที่จะเอาชนะอุปสรรคในการเชื่อมต่อข้อมูล และก้าวไปสู่อีกขั้นในการใช้เทคโนโลยี AI เพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์และการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น” 

การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และความท้าทายด้านการเงิน
เป็นปัญหาเร่งด่วนต่อการให้บริการผู้ป่วยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
 
71% ของผู้นำในวงการเฮลท์แคร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกังวลเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ที่ส่งผลต่อการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ล่าช้า
 
นอกจากนี้ 92% ของผู้นำในวงการเฮลท์แคร์ยังชี้ให้เห็นว่าความท้าทายด้านการเงินส่งผลกระทบต่อความสามารถขององค์กรในการดูแลผู้ป่วยทั้งในด้านเวลาและคุณภาพ
 
และ 59% บอกว่าพวกเขากำลังปรับปรุงประสิทธิภาพ การดำเนินงานขององค์กร โดยคำนึงถึงกลยุทธ์ทางด้านการเงินควบคู่กัน 

การบริหารจัดการผู้ป่วยจำนวนมากโดยไม่ลดทอนคุณภาพการบริการ จำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญของในกระบวนการทำงาน ซึ่งการนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้จะเป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดผลกระทบจากการขาดแคลนบุคลากรได้
 
จากการสำรวจพบว่าเกือบครึ่งหนึ่ง (45%) ของผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในกระบวนการทำงานแล้ว

ศักยภาพของการเชื่อมต่อข้อมูล
ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วย
 
ผู้นำในวงการเฮลท์แคร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเล็งเห็นถึงโอกาสในการยกระดับการดูแลรักษาผู้ป่วย ด้วยศักยภาพของการเชื่อมต่อข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อช่วยจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยไว้ในที่เดียว
 
- โดยพวกเขาเชื่อว่า การนำข้อมูลเชิงลึกมาจัดเก็บและประมวลผลจะช่วยในการวางแผนหรือหาแนวทางการดูแลที่เหมาะสมได้ (36%),
- สามารถระบุแนวทางการรักษาที่มีประสิทธิผลได้ (36%),
- สามารถประเมินและบริหารจัดการความต้องการของผู้ป่วยได้ (36%),
- สามารถพยากรณ์และลดความเสี่ยงของอาการที่แย่ลงในผู้ป่วยได้ (33%),
- และสามารถลดเวลารอคอยในการตรวจวินิจฉัยและกระบวนการดูแลได้อย่างเหมาะสม (31%)

อย่างไรก็ตาม 93% ของผู้นำในวงการเฮลท์แคร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกบอกว่าพวกเขาพบอุปสรรคในการเชื่อมต่อข้อมูลอย่างน้อย 1 อย่าง เมื่อนำมาประยุกต์ใช้จริง ซึ่งส่งผลต่อการดูแลรักษาผู้ป่วย ทั้งด้านเวลาและคุณภาพ ได้แก่
- เพิ่มความเสี่ยงของการดูแลรักษาที่ผิดพลาด ความปลอดภัย หรือคุณภาพของการดูแลผู้ป่วยที่ลดลง (36%)
- มีข้อจำกัดในการประสานงานระหว่างผู้ให้บริการ หรือภายในแผนกต่างๆ (33%)
- ต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการขาดประสิทธิภาพ (32%)
- ต้องใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูล ทำให้ใช้เวลาน้อยลงในการดูแลผู้ป่วย (31%)
- ขาดโอกาสในการดูแลเชิงป้องกันหรือการรับการรักษาที่รวดเร็ว (31%)

แต่ผู้นำในวงการเฮลท์แคร์ในเอเชียแปซิฟิกยังเห็นว่า หากสามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้สำเร็จ จะมีศักยภาพและประโยชน์ต่อการดูแลรักษาผู้ป่วยมากที่สุด 
โดย 67% เห็นว่าคุณภาพของข้อมูลมีความสำคัญที่สุด
- พวกเขาระบุว่าความแม่นยำของข้อมูล (36%),
- การปรับปรุงด้านความปลอดภัย/ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (34%),
- การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของตัวผู้ป่วยเอง (34%)
- และการทำงานร่วมกันระหว่างแพลตฟอร์ม/สถานบริการสาธารณสุข (31%)
 
เป็นส่วนที่ควรได้รับการพัฒนาเมื่อมีการจัดการด้านข้อมูล
 
การนำ AI มาใช้เพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิก
และความสนใจด้าน Generative AI ที่มากขึ้น
 
ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผู้นำในวงการเฮลท์แคร์ต่างเห็นว่าการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ในภูมิภาคประสบความสำเร็จ จากการนำเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิกเพิ่มมากขึ้น
 
จากผลสำรวจพบว่ามีการนำเทคโนโลยี AI มาใช้สนับสนุนทางคลินิกและวางแผนที่จะนำไปใช้ในหลายๆ ด้านภายใน 3 ปีข้างหน้า ได้แก่
- ด้านการดูแลเชิงป้องกัน (91%),
- ด้านการบริหารจัดการยา (90%),
- ด้านระบบติดตามผู้ป่วยในโรงพยาบาล (89%),
- ด้านการวางแผนการรักษา (89%), 
- ด้านระบบติดตามผู้ป่วยระยะไกลหรือแบบรีโมท (87%),
- ด้านระบบในศูนย์สั่งการทางคลินิก (83%), ฃ
- ด้านรังสีวิทยา (79%)
- และด้านพยาธิวิทยา (79%)

ขั้นต่อไปของเทคโนโลยี คือ การนำ Generative AI มาใช้ โดยผู้นำในวงการเฮลท์แคร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเล็งเห็นถึงประโยชน์ของอัลกอริทึม AI ที่สามารถใช้ในการทำคอนเทนท์ต่างๆ ตามคำสั่งที่ป้อนเข้าไป อาทิ ข้อความ รูปภาพ หรือข้อมูล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลรักษาผู้ป่วย เพื่อแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพและข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ
- จากข้อมูลของผู้ป่วย โดย 36% ของผู้นำในวงการเฮลท์แคร์ในเอเชียแปซิฟิก ลงทุนในเทคโนโลยี Generative AI และ 62% มีแผนที่จะลงทุนในเทคโนโลยีนี้ภายใน 3 ปีข้างหน้า
- ซึ่งความสนใจด้าน Generative AI ของผู้นำด้านเฮลท์แคร์ในเอเชียแปซิฟิก มากกว่าผู้นำด้านเฮลท์แคร์ทั่วโลก ที่ปัจจุบันลงทุนอยู่ 29% และมีแผนที่จะลงทุนภายใน 3 ปีข้างหน้าอยู่ที่ 56% 

ถึงแม้ว่าจะมีความตื่นตัวด้านเทคโนโลยี AI เป็นวงกว้าง แต่ 95% ของผู้นำในวงการเฮลท์แคร์ในเอเชียแปซิฟิกยังมีความกังวลเกี่ยวกับความแม่นยำของข้อมูลในแอปพลิเคชันที่ใช้ AI เนื่องจากอาจส่งผลต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพ
 
ดังนั้น พวกเขาจึงระบุว่าเทคโนโลยี AI ต้องถูกนำไปใช้อย่างมีความรับผิดชอบเพื่อป้องกันความผิดพลาด โดยกลยุทธ์ในการลดความเสี่ยงของความผิดพลาดทางข้อมูล คือ
- ความโปร่งใสและความเข้าใจด้าน AI สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ (45%),
- การทำให้บุคลากรมีความมั่นใจในข้อมูลและเทคโนโลยี AI (43%),
- มีการฝึกอบรมและให้ความรู้อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับ AI (40%)
- และมีการกำหนดนโยบายสำหรับการใช้ข้อมูลและ AI อย่างมีจริยธรรม (39%)
 
ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้จะสามารถทำได้ผ่านการทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

"อนาคตของการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ดีขึ้นสำหรับผู้คนที่มากขึ้น จะสำเร็จได้ผ่านเทคโนโลยีการเชื่อมต่อของข้อมูลและการใช้เทคโนโลยี AI เพื่อสนับสนุนการทำงานทางคลินิก ปรับปรุงกระบวนการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ให้บริการสาธารณสุข เราได้นำประโยชน์ของเทคโนโลยี AI และเทคโนโลยีข้อมูลสารสนเทศ ผสานกับการทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อสร้างนวัตกรรม ทั้งในกลุ่ม Imaging, Interventional และ Monitoring ให้ล้ำหน้าเหนือความต้องการเหล่านี้" ดร.เบอร์บี กล่าวเสริม

นอกจากนี้ฟิลิปส์ยังได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรในเอเชียแปซิฟิก ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการสาธารณสุข บุคลากรทางการแพทย์ คู่ค้า ตัวแทนจำหน่าย เพื่อสร้างความร่วมมือในระยะยาวและแนวทางดำเนินธุรกิจและบริการใหม่ๆ ส่งเสริมความสำคัญของบริการหลังการขายและการอัพเกรด เพื่อสร้างนวัตกรรมและแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน รวมถึงส่งเสริมการฝึกอบรมและการให้ความรู้ ซึ่งจะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จทางดิจิทัลในระยะยาว
 
มากไปกว่านั้น ฟิลิปส์ยังได้นำเสนอโซลูชั่นส์ทั้งด้านระบบ, ซอฟต์แวร์, เครื่องมือแพทย์, และบริการที่ครบวงจร เพื่อตอบโจทย์และรับมือกับความท้าทายที่ผู้ให้บริการสาธารณสุขต้องเผชิญ และช่วยปลดล็อกศักยภาพในการนำเทคโนโลยีทางดิจิทัลมาใช้ได้อย่างเต็มที่
 
Philips Future Health Index 2024  ฟิลิปส์เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ประจำปี  ชี้เทรนด์เทคโนโลยี AI และ DATA มาแรง ในกลุ่มผู้นำด้านเฮลท์แคร์ในเอเชียแปซิฟิก หวังยกระดับการดูแลรักษาผู้ป่วย
 
Philips Future Health Index 2024  ฟิลิปส์เผยผลสำรวจด้านเฮลท์แคร์ประจำปี  ชี้เทรนด์เทคโนโลยี AI และ DATA มาแรง ในกลุ่มผู้นำด้านเฮลท์แคร์ในเอเชียแปซิฟิก หวังยกระดับการดูแลรักษาผู้ป่วย
 
 
 
 
 
 
 
 


ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




มีสุขกาย / Wellness

กรุงไทย ผนึก 6 องค์กรพันธมิตร พัฒนานวัตกรรมเฝ้าระวังสุขภาพ ลดความเสี่ยงหกล้ม กระดูกหักในผู้สูงอายุ
บริษัทกลุ่มบริษัทบีทีเอส ร่วมกับ กทม. – สสส. ขอเชิญชวนประชาชน ร่วมงานนิทรรศการ The Air We Share แบ่งปันความรู้เรื่องฝุ่น PM 2.5
“งูสวัดสกัดได้...งูไม่สวัสดี” ภายใต้โครงการ Gen ยัง Active 50+
ซีพีแรม ชวนคนไทย “ลดมัน เพื่อสุขภาพ” บริโภคอย่างไรให้สมดุล ห่างไกลโรค
เปิดแล้ว "ตลาดสุขภาพดี วิถีคนเมือง" ครั้งที่ 3 ณ ลานคนเมือง
กรุงไทยชี้ การแพทย์จีโนมิกส์ จะนำไทยสู่ Medical Hub เต็มรูปแบบ
เบนท์ลีย์ มอเตอร์ส เปิดตัว AZURE ที่สุดแห่งความสะดวกสบายแบบเหนือระดับภายในห้องโดยสาร
กรุงไทยชี้ การยกระดับ 3 อุตสาหกรรมการแพทย์สำคัญ จะนำไทยสู่ Medical Hub
รพ.พระรามเก้า เปิดตัว “แอนติบอดี ค็อกเทล” ยาใหม่ที่พลิกแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด
‘THG’ ผนึกความร่วมมือกับ ‘ศูนย์วิจัยยาเสพติด วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ’
“ออโรร่า วิสดอม” ทุ่ม 3,000 ล้านบาท ผุดโรงงานผลิตถุงมือยางในไทย
รพ.ธนบุรี บำรุงเมือง เบิกฤกษ์ตลาดธุรกิจสุขภาพต้อนรับปีหนูทอง
ประกันภัยไทยวิวัฒน์ เปิดตัว “ Active Bonus ยิ่งแอคทีฟ ก็ยิ่งได้”
สสส. สนับสนุนให้คนเดินและปั่น เพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย ลดภาวะเนือยนิ่ง
101 True Digital Park จัดงานเทศกาล "101 สุขเกินร้อย"
เร่งเจาะตลาดผู้สูงวัย ขุมทรัพย์หมื่นล้าน
Amazing Thailand Health and Wellness Trade Meet 2018
“ครูก้อยท้องแล้วจ้า ปลื้มมากได้ลูกสาว ด้วยฝีมือหมอ”
ตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายไทย ทะยานสู่ 2แสนล้าน โตต่อเนื่อง 5 ปี ไม่น้อยกว่าปีละ 5%
4 คำควรรู้ ของนักกินสายสุขภาพ
ยาอะไรบ้างต้องเก็บยาในตู้เย็น
สมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน..กินด้วยกันดีมั้ย?
เราเป็นในสิ่งที่เรากิน
นวดอย่างไรให้ถูกต้อง
คนอายุยืนที่สุดในโลก "ลี ชิง ยุน" อายุ 256 ปี
พลังลมปราณเพื่อฟื้นฟูสุขภาพและบำบัดโรค article
ร่างกายมหัศจรรย์
ไปยิมเพื่ออะไร??



email : iconminfo@gmail.com / Copyright © 2016 All Rights Reserved.
IconM