GSK ผนึกกำลัง ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เปิดตัวแคมเปญ “งูสวัดสกัดได้...งูไม่สวัสดี” ภายใต้โครงการ Gen ยัง Active 50+
เนื่องในสัปดาห์โรคงูสวัด ส่งต่อความห่วงใยให้คนไทยห่างไกลโรคงูสวัด
สัปดาห์โรคงูสวัด (26 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2567) บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด (GSK) ร่วมกับภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เปิดตัวแคมเปญสร้างสรรค์ “งูสวัดสกัดได้...งูไม่สวัสดี” รณรงค์สร้างความตระหนักรู้เรื่องโรคงูสวัด โดยครีเอทภาพคาแรคเตอร์การ์ตูนของแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโรคติดเชื้อ เวชบำบัดวิกฤต และวัคซีนสำหรับผู้ใหญ่จากองค์กรภาคีชั้นนำ ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เผยแพร่ผ่าน LINE OA: @GenYoungActive ตลอดสัปดาห์ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์กลุ่ม Gen ยัง Active หรือผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปที่ชื่นชอบการส่งภาพผ่านไลน์ ได้ส่งต่อความห่วงใยและวิธีป้องกัน
ผศ. นพ.กมล อุดล หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษาโครงการ Gen ยัง Active 50+ กล่าวว่า
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อรับมือสังคมสูงวัยในประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด (GSK) เปิดตัวแคมเปญ “งูสวัดสกัดได้...งูไม่สวัสดี” ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาพเชิงป้องกัน “Gen ยัง Active 50+” เนื่องในสัปดาห์โรคงูสวัด ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2567
เพื่อสร้างความตระหนักถึงการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคงูสวัดและการดูแลตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคงูสวัด ซึ่งเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
แคมเปญ “งูสวัดสกัดได้...งูไม่สวัสดี” นำภาพและคำกล่าวของแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโรคติดเชื้อ เวชบำบัดวิกฤต และวัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ 6 ท่าน เกี่ยวกับโรคงูสวัดและวิธีป้องกัน มาสร้างสรรค์เป็นคอลเลกชันชุดภาพการ์ตูน “สวัสดีจันทร์- ศุกร์” ผ่านลายเส้นของ illustration รุ่นใหม่ SIRI หรือ สิรินาฏ สายประสาท ที่ทันสมัยและมีสีสันสดใส ส่งต่อความห่วงใยจากรุ่น Caregiver ถึง Gen ยัง’ Active
สื่อสารบนแพลตฟอร์ม LINE OA: @GenYoungActive
และดาวน์โหลดชุดภาพการ์ตูนในเว็บไซต์ www.GenYoungActive.com
สำหรับคอลเลกชันชุดภาพการ์ตูน “งูสวัดสกัดได้...งูไม่สวัสดี” ได้รับเกียรติจากบุคลากรทางการแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโรคติดเชื้อ เวชบำบัดวิกฤต และวัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ทั้งหมด 6 ท่าน ประกอบด้วย
1. นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ
2. นพ.วินัย รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
3. รศ.(พิเศษ)นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
4. นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยหนัก และผู้สูงอายุ
5. ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล อุปนายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวัฒนธรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
6. นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ รองผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร
จึงเชิญชวนให้กลุ่ม Gen ยัง Active ส่งต่อความห่วงใยให้ครอบครัวและเพื่อน อาทิ “สวัสดีวันอังคาร ใจเบิกบาน กายแข็งแรง วัย 50+ ภูมิคุ้มกันลด เชื้อไวรัสที่ซ่อนจะออกมาเป็นงูสวัด” และ “สวัสดีวันพฤหัส ลุกมาขยับ ปรับนิด ลดเสี่ยงโรค เมื่อหายจากงูสวัด ยังปวดปลายประสาทอีกหลายเดือน”
พญ.บุษกร มหรรฆานุเคราะห์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ GSK กล่าวว่า
เนื่องในสัปดาห์โรคงูสวัด ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคมนี้ GSK มีความมุ่งมั่นในการค้นคว้าวิจัยยาและวัคซีนนวัตกรรมเพื่อให้สามารถก้าวนำการป้องกันโรคภัยต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ภายใต้แนวคิด “Ahead Together” ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคงูสวัด และการป้องกันโรค
เนื่องจากโรคงูสวัดเป็นโรคที่ผู้คนไม่ค่อยตระหนักถึงความอันตราย แต่สร้างความเจ็บปวดทรมานและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก จากผลการศึกษาพบว่า คนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป และเคยเป็นโรคอีสุกอีใส มากกว่า 90% จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคงูสวัด
“ผู้สูงอายุที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส เมื่อร่างกายอ่อนแอหรือภูมิคุ้มกันตกลงจากอายุที่เพิ่มขึ้น จะทำให้เชื้อไวรัสที่เคยทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสกลับมาก่อให้เกิดเป็นโรคงูสวัด ซึ่งนอกจากจะมีอาการปวดแสบร้อนบริเวณผิวหนัง หรือปวดแบบเหมือนมีเข็มมาทิ่มแทง มีอาการปวดเจ็บแบบแปร๊บๆ ตามแนวเส้นประสาทหลังจากที่ผื่นหรือตุ่มน้ำของงูสวัดหายไปแล้ว (เอกสารอ้างอิง 1, 2)
โรคงูสวัดยังส่งผลต่อระบบประสาทและก่อให้เกิดมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอื่นๆ ตามมา โดยผู้สูงอายุที่เป็นโรคงูสวัดจะมีอาการปวดเรื้อรังยาวเป็นเดือน หรือบางคนอาจจะพัฒนาเป็น Stoke (เอกสารอ้างอิง 3) วิธีการป้องกันโรคงูสวัด คือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และรับการฉีดวัคซีนป้องกันตามที่แพทย์แนะนำ (เอกสารอ้างอิง 2) จะทำให้มีสุขภาพที่ดีและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีอิสระ” พญ.บุษกร กล่าว
สามารถติดตามรายละเอียดแคมเปญ “งูสวัดสกัดได้...งูไม่สวัสดี” และดาวน์โหลดชุดภาพการ์ตูนในเว็บไซต์ www.GenYoungActive.com และ LINE OA : @genyoungactive
#งูสวัดสกัดได้ #GenยังActive #GenYoungActive
เอกสารอ้างอิง
1. Kilgore PE, et al. J Med Virol. 2003;70(suppl 1):S111-S8.
2. Harpaz R, et al. MMWR Recomm Rep 2008;57:1-30
3. Cohen Jl et al. N Engl J Med 2013:369:255-263