ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ค้นหาบทความ / Article Search

dot


MotorShow2025-BIMS46th
UranusV-Reflection
WorkshopPhotography
Thainess Capital
Comme c’est bon
nawarat
IconM
THE THAI REAL ESTATE ASSOCIATION
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
AREA
ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
สมาคมการผังเมืองไทย
icons
Realist
Smart Living
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สมาคมธนาคารไทย
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
TAT
ATTA
Tourism Council of Thailand (TCT)
The Royal Automobile Association of Thailand under Royal Patronage
The Thailand Automotive Institute (TAI)
Motor Expo 2024
The45thBIMS2024
BIMS2023
MotorExpo2023
MotorExpo2022
BIMS2022
Motor Show 2019
MotorExpo2020
MotorExpo2019
MotorExpo2018
Food4Change
มูลนิธิสุขภาพไทย
Thaicityfarm
Thai Green Market
Center Market
Sustainable Agriculture
Agri-nature Foundation
Sustainable Agriculture Foundation (Thailand)
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมหม่อนไหม
กรมส่งเสริมอุสาหกรรม
Thai Textile
SACICT
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย
IconM
IconM News : G+
Oknation-lumnamsiam
Tarot Life Coach


จักรยาน (น้ำ) คืนชีวิตให้คลองบางลำพู

จักรยาน (น้ำ) คืนชีวิตให้คลองบางลำพู

เผยแพร่โดย  นิตยสารสารคดี

โพสต์เมื่อ Jan 26, 2015

เรื่อง : อภิญญา นนท์นาท 
ภาพประกอบ : นันทวัน วาตะ


จักรยาน (น้ำ) คืนชีวิตให้คลองบางลำพู

กรุงเทพมหานครเคยได้ชื่อว่าเป็น “เมืองน้ำ” มีคูคลองหลายสายโยงใยถึงกัน กระทั่งความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อถนนหนทางมีบทบาทแทนที่คูคลอง ชีวิตผู้คนเริ่มออกห่างจากสายน้ำ สภาพคูคลองหลายสายจึงกลายเป็นเพียงเส้นทางระบายน้ำอันเสื่อมโทรม มลพิษทางน้ำเป็นปัญหาเรื้อรังของเมืองที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนที่อยู่อาศัยริมคลอง

 

ชุมชนริมคลองหลายแห่งมีความพยายามฟื้นฟูคูคลองสายเล็กๆ ในชุมชนของตนโดยอาศัยความร่วมมือภาคประชาชน ตัวอย่างหนึ่งที่ถือว่าประสบความสำเร็จคือการอนุรักษ์คลองบางลำพูโดย "ประชาคมฟื้นฟูวัฒนธรรม ย่านบางลำพู" ซึ่งเป็นการรวมตัวของชาวชุมชนและองค์กรเอกชนภายในย่าน 

ที่ผ่านมามีกิจกรรมฟื้นฟูคลองในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งการฟื้นคุณภาพน้ำและการจัดกิจกรรมเชิงวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับคลองบางลำพูเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายนที่ผ่านมาเป็นวันอนุรักษ์คูคลองแห่งชาติ ประชาคมฟื้นฟูวัฒนธรรม ย่านบางลำพูได้เปิดตัว “จักรยานน้ำบำบัaดน้ำเสีย” ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจากโครงการ “จักรยานเผินน้ำ” ในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


จักรยานเผินน้ำ” ต้นประกายความคิด

จักรยานเผินน้ำเป็นโครงการศึกษาวิจัยตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่กรมอู่ทหารเรือพัฒนาขึ้นจากแบบเอกสารที่พระราชทานแก่ พลเรือตรี ไพบูลย์ นาคสกุล (ยศขณะนั้น) เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๓๐ เพื่อให้กรมอู่ทหารเรือศึกษาออกแบบและทดลองสร้างจักรยานเผินน้ำสำหรับใช้เป็นยานพาหนะสัญจรทางน้ำในระยะทางสั้นๆ

หลักการทำงานของจักรยานเผินน้ำมีโครงสร้างช่วงบนคล้ายจักรยานทั่วไป แต่ช่วงล่างมีลักษณะแบบยานพาหนะทางน้ำ คือมีทุ่นลอยสองข้าง ด้านล่างมีปีกหน้าและปีกหลัง  เมื่อออกแรงถีบให้เคลื่อนที่ไปบนผิวน้ำจักรยานจะยกตัวขึ้นด้วยแรงยกจากปีกหน้าและปีกหลัง ทำให้โครงสร้างของจักรยานตั้งแต่ส่วนทุ่นลอยยกตัวเหนือผิวน้ำ โดยที่ส่วนปีกหน้าและหลังยังอยู่ใต้ผิวน้ำทำหน้าที่ให้จักรยานเคลื่อนที่ต่อไปได้

การดำเนินการศึกษาวิจัยและจัดสร้างจักรยานเผินน้ำต้นแบบแล้วเสร็จในปี ๒๕๓๒ กรมอู่ทหารเรือจึงน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันที่ ๑๗ มิถุนายนปีเดียวกัน และสาธิตการขี่จักรยานเผินน้ำ “ไฮโดรไบค์ ๑.๕” ณ บึงทะเลน้อย พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทอดพระเนตรการสาธิตการขี่จักรยานเผินน้ำ ได้มีพระราชดำรัสต่อคณะทำงานว่า

 

เผินน้ำได้สูงดีมากอย่างนี้ถือว่าประสบความสำเร็จ…
อย่าทิ้งนะ พยายามปรับปรุงแก้ไขต่อไป  ขอบใจทุกคน”

 

ถึงแม้การทดสอบจักรยานเผินน้ำจะประสบผลสำเร็จ แต่ช่วงเวลาที่ผ่านมากรมอู่ทหารเรือไม่ได้พัฒนาโครงการดังกล่าว เพราะการใช้ประโยชน์ยังมีข้อจำกัดและด้วยภาระหน้าที่ด้านอื่นๆ จักรยานเผินน้ำจึงอยู่ในสถานะโครงการศึกษาวิจัยเท่านั้น

จนเมื่อมีโครงการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงภายในกรมอู่ทหารเรือ ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย ซึ่งเปิดอย่างเป็นทางการในปี ๒๕๕๔ จักรยานเผินน้ำต้นแบบในพระราชดำริที่เก็บรักษาไว้จึงนำออกมาจัดแสดงแก่คนทั่วไปอีกครั้ง ช่วยจุดประกายความคิดให้เกิดการพัฒนาต่อยอดโครงการดังกล่าวเป็นครั้งแรกในรอบกว่า ๒๐ ปีมานี้

 

จากประกายความคิด สู่ “จักรยานน้ำบำบัดน้ำเสีย” (ต้นแบบ)

จุดเริ่มต้นของการพัฒนาต่อยอดโครงการจักรยานเผินน้ำในพระราชดำริ เกิดจากความคิดของ สิทธิชัย ผลหิตตานนท์ ประธานประชาคมฟื้นฟูวัฒนธรรม ย่านบางลำพู

ระหว่างเดินชมพิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง ผมได้เห็นจักรยานเผินน้ำในพระราชดำริของในหลวง และข้อความพระราชดำรัสที่ว่า ‘อย่าทิ้งนะ พยายามปรับปรุงแก้ไขต่อไป’ ตอนนั้นอยากให้คนอื่นได้เห็นด้วย จึงคิดว่าจะต่อยอดอย่างไรได้บ้าง …ตัวจักรยานเผินน้ำแบบดั้งเดิมยังใช้ประโยชน์ได้ไม่มากนัก เราจึงคิดว่าถ้านำไปร่วมกับกังหันชัยพัฒนาซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริเช่นเดียวกัน น่าจะเกิดประโยชน์ด้านการอนุรักษ์คูคลองที่ทำกันมา  เรามุ่งหวังว่าจะมีส่วนช่วยบำบัดน้ำเสียและเป็นการออกกำลังกาย เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้วย”ทางประชาคมฯ จึงจัดประชุมร่วมกับตัวแทนจากกรมอู่ทหารเรือซึ่งให้ความอนุเคราะห์ในการออกแบบและจัดสร้างจักรยานน้ำบำบัดน้ำเสีย

การทำงานของฝ่ายกรมอู่ทหารเรือ นาวาเอก ชลิต เจริญวัฒนะโภคา ผู้อำนวยการโรงเรียนช่างกรมอู่ทหารเรือ ผู้เป็นส่วนหนึ่งในคณะทำงานสร้างจักรยานน้ำ ได้บอกเล่าขั้นตอนการออกแบบและจัดสร้างเบื้องต้น

เราออกแบบโดยดูวัตถุประสงค์ที่ทางประชาคมฯ ต้องการ ทั้งการบำบัดน้ำเสีย ส่งเสริมการท่องเที่ยวรักษ์สิ่งแวดล้อม สร้างกิจกรรมเพื่อสุขภาพ  ขั้นแรกตั้งคณะทำงานสร้างอุปกรณ์บำบัดน้ำฯ หรือจักรยานน้ำ ในส่วนกรมอู่ทหารเรือมีหลายหน่วยงานที่ต้องดำเนินการร่วมกัน ทั้งฝ่ายเขียนแบบและฝ่ายโรงงานต่างๆ”

ขั้นตอนการดำเนินงานเริ่มจากเขียนแบบลายเส้น จักรยานน้ำมีโครงสร้างสำคัญ ได้แก่ ทุ่นลอย ตัวจักรยาน หางเสือ และใบพัดแบบกังหันชัยพัฒนาซึ่งเป็นส่วนที่เพิ่มเติมจากจักรยานเผินน้ำแบบดั้งเดิม  ต่อมาจึงดำเนินการจัดสร้างซึ่งแบ่งเป็นสองส่วน คือ การทำทุ่นลอยสองข้างที่ออกแบบเป็นรูปเรือ โดยใช้วัสดุไฟเบอร์กลาสซึ่งมีน้ำหนักเบาและทนทานต่อการใช้งาน

อีกส่วนคืองานช่างโลหะที่ผลิตโครงจักรยาน หางเสือ และใบพัดกังหันด้วยอะลูมิเนียม ส่วนเฟืองต่างๆ เลือกใช้ของที่มีตามท้องตลาดเพื่อการซ่อมบำรุงในอนาคตจะหามาเปลี่ยนได้เอง  จากนั้นจึงนำทุ่นที่พ่นสีและทำผิวแล้วมาเชื่อมประกอบกับจักรยาน ติดตั้งหางเสือไว้ด้านหน้าเพื่อควบคุมทิศทาง และติดตั้งตัวใบพัดกังหันชัยพัฒนาไว้ด้านหลังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสีย

จักรยานน้ำที่พร้อมใช้งานมีความยาวตลอดลำเรือ ๓ เมตร น้ำหนักรวม ๕๐ กิโลกรัม และกินน้ำลึกวัดจากหางเสือ ๐.๕ เมตร บรรทุกน้ำหนักได้ไม่เกิน ๑๑๐ กิโลกรัม  รวมระยะเวลาตั้งแต่ออกแบบจนแล้วเสร็จประมาณ ๖ เดือน ใช้งบประมาณราว ๒๕,๐๐๐ บาท

การปั่นจักรยานน้ำไม่แตกต่างจากการปั่นจักรยานมากนัก คือบังคับเลี้ยวซ้ายขวาได้ตามปรกติ เพียงแต่กระแสน้ำมีผลต่อการควบคุมทิศทาง  คนที่เข้าใจเรื่องหลักการทำงานของเรือและทิศทางน้ำจะบังคับได้ดีกว่า ซึ่งแก้ไขโดยออกแบบโครงสร้างให้ชะลอความเร็วขณะบังคับทิศทาง

สำหรับประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสีย จะเห็นผลมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความถี่ของการใช้จักรยานน้ำภายในคลอง ซึ่งตัวกังหันจะช่วยทำให้น้ำไม่หยุดนิ่งและเพิ่มออกซิเจน และถ้ามีหลายๆ ลำน่าจะส่งผลชัดเจนขึ้นด้านการบำบัดน้ำเสีย

แม้โครงการจักรยานน้ำต้นแบบจะถือว่าประสบผลสำเร็จในเบื้องต้น แต่กรมอู่ทหารเรือยังเปิดรับความคิดเห็นจากชาวชุมชนและนักปั่นจักรยานที่มาร่วมทดสอบขี่จักรยานน้ำในคลองบางลำพู เพื่อพัฒนาคุณสมบัติต่างๆ ของจักรยานน้ำให้มีประสิทธิภาพการใช้งานเหมาะสมแก่คนทั่วไปมากที่สุด

อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดอีกอย่างที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการใช้จักรยานน้ำภายในคลองบางลำพู คือการรักษาระดับน้ำในคลองให้มีความเหมาะสม เพราะระดับการกินน้ำลึกของจักรยานต้องมีปริมาณน้ำเพียงพอเพื่อไม่ให้ช่วงหางเสือติดพื้นเลนซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการขี่ เรื่องนี้ประชาคมฯ ต้องหารือกับสำนักการระบายน้ำซึ่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบโดยตรงเรื่องคูคลองและการกำหนดระดับน้ำ

สิทธิชัยกล่าวว่า จากความสำเร็จของตัวต้นแบบทำให้องค์กรภาคเอกชนและกลุ่มบุคคลย่านบางลำพูเล็งเห็นประโยชน์ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ จึงสนับสนุนให้จัดสร้างจักรยานน้ำเพิ่มเติม  ตอนนี้มีประมาณ ๑๕ ลำที่อยู่ระหว่างการจัดสร้าง ซึ่งนับเป็นเรื่องที่เกินความคาดหมายและถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของประชาคมฯ ที่จะบริหารจัดการระบบการใช้จักรยานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน การดูแลรักษาซ่อมบำรุง รวมถึงการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักการระบายน้ำ สำนักงานเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ในอนาคตประชาคมฟื้นฟูวัฒนธรรม ย่านบางลำพู และชาวบางลำพู หวังจะได้เห็นจักรยานน้ำที่เกิดจากการน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและความร่วมใจของชาวย่าน โลดแล่นคืนชีวิตชีวาให้คลองบางลำพูและมีส่วนสร้างจิตสำนึกอนุรักษ์คูคลองของคนกรุงเทพฯ ให้ฟื้นคืนมาอีกครั้ง


ขอขอบคุณ 
คุณสิทธิชัย ผลหิตตานนท์ ประธานประชาคมฟื้นฟูวัฒนธรรม ย่านบางลำพู
นาวาเอก ชลิต เจริญวัฒนะโภคา ผู้อำนวยการโรงเรียนช่างกรมอู่ทหารเรือ
พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง กรมอู่ทหารเรือ


ตีพิมพ์ใน นิตยสาร สารคดี ฉบับที่ 357 พฤศจิกายน 2557






 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




เมืองงาม / Urban

ตลาดยิ่งเจริญ ครบรอบ 67 ปี เดินหน้าพัฒนาธุรกิจมุ่งสร้าง “ศูนย์กลางชุมชน” ภายใต้แนวคิด “สะพานใหม่ แลนด์มาร์ค” ตามนโยบาย “Y Together”
“สมาคมธนาคารไทย” หนุน “กทม.” ขับเคลื่อนสู่เมืองเศรษฐกิจสีเขียว สร้างการเติบโตยั่งยืน
แนวทางการร่วมบูรณาการเพื่อพัฒนา “อีอีซี” สู่เมืองน่าอยู่อัจฉริยะ ความท้าทายของทุกภาคส่วน ในการเป็น ‘สมาร์ทซิตี้’
“กรุงไทย” ยกระดับฉะเชิงเทราสู่เมืองอัจฉริยะ 5 Smart ครอบคลุมวิถีชีวิตยุคใหม่
ยกระดับฉะเชิงเทราสู่ Smart City
สมาคมเพื่อนชุมชนรับโล่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ 4
ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น Safety in Built Environments
MQDC ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายการสร้างเมือง Smart City
Beautiful Bangkok : Smartphone Photo Contest
ทิศทางอนาคตโมเดลจัดการน้ำประเทศไทย 4.0
แก้ปัญหา "น้ำท่วม-ฝนแล้ง" ในระยะยาว...ได้หรือไม่ ?
อุสเบกิสถาน..เมืองประวัติศาสตร์โลก
ภูเก็ตพัฒนาเมือง...เปิดตัวบริษัทในเครือ ปี 2017
คลองดำเนินสะดวกปี พ.ศ.2513
มนต์เสน่ห์..อิตาลี
ศสช. เผย 5 “จังหวัดที่มีคนจนมากที่สุด”ในประเทศไทย
เที่ยวเมืองงาม-SaintPetersburg Russia
โครงการรถไฟฟ้ามหานคร
การผังเมืองไทยจากประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติ
แนวคิดปรับปรุงการสัญจรบริเวณซอยอารีย์ ถนนพหลโยธิน
ระบบรถไฟฟ้าชานเมืองของกรุงปารีส
แผนที่การใช้ที่ดิน กทม.
Urban Geography: Why We Live Where We Do
การพัฒนาพื้นที่บริเวณถนนสาทร
การพัฒนาโครงข่ายพื้นที่สีเขียวกรุงเทพมหานคร
พระราชวังหลวงแห่งกรุงศรีอยุธยา



email : iconminfo@gmail.com / Copyright © 2016 All Rights Reserved.
IconM