การพัฒนาโครงข่ายพื้นที่สีเขียวกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานครมีการพัฒนาเมืองต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรและการเติบโตทางเศรษฐกิจทําให้มีการก่อสร้างและพื้นที่สิ่งปลูกสร้างมากขึ้น ในขณะที่พื้นที่โล่งว่างและพื้นที่สีเขียวในเมืองลดลง จึงเสียความสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเมือง เป็นปัญหาทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อประชาชนผู้อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร เกิดการตัดขาดพื้นที่สีเขียวทําให้ระบบนิเวศขาดความต่อเนื่อง องค์ประกอบธรรมชาติมีความเสี่ยงและเสียหายมากกว่าในพื้นที่ที่มีความต่อเนื่องของระบบนิเวศ
.jpg)
ปีพ.ศ. 2556 กรุงเทพมหานคร ได้ประกาศผังเมืองรวมโดยมีประกาศแผนผังแสดงที่โล่งท้ายกฎกระทรวงให้บังคับใช้ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 โดยเน้นการเชื่อมต่อระบบนิเวศและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพื้นที่สีเขียวในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อให้แผนผังแสดงที่โล่งท้ายกฎกระทรวงให้บังคับใช้ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 และนโยบายการพัฒนาพื้นที่สีเขียวใช้ประโยชน์ได้จริง
สํานักผังเมืองกรุงเทพมหานครจึงได้ดําเนินโครงการจัดทําผังแม่บทโครงข่ายพื้นที่สีเขียวในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษา เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาแผนให้เกิดผลได้จริง
กรอบแนวคิด (Framework) ที่นํามาใช้ในการพัฒนาโครงข่ายพื้นที่สีเขียวกรุงเทพมหานคร ครั้งนี้คณะทํางานใช้กรอบแนวคิด 7 ข้อหลักในการพัฒนาโครงการ ดังนี้
1) การเชื่อมต่อ (Connectivity) กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่เครือข่ายการคมนาคมซับซ้อน ทั้งระบบราง ระบบถนนและระบบคลอง มีถนนและคลองจํานวนมาก นอกจากสร้างโครงข่ายเพื่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยัง
ควรเชื่อมต่อโครงข่ายคมนาคมเหล่านี้เข้าด้วยกัน เพื่อส่งเสริมการเชื่อมต่อของระบบทางจักรยานและทางเดินเท้าทั้งในระดับพื้นดินและทางยกระดับ
2) การบริการโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว (Green infrastructure service) คือ การส่งเสริมให้มีการพิจารณานําพื้นที่โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ มาเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่โครงข่าย และพัฒนาระบบสาธารณูปโภค
สาธารณูปการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบระบายน้ำเชิงชีวภาพ รวมไปถึงการศึกษาเพื่อนําเทคโนโลยีใหม่ที่เน้นพลังงานสะอาดและการประหยัดพลังงานเข้ามาใช้
3) ประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อม (Environmental benefit) การพัฒนาโครงข่ายพื้นที่สีเขียวควรเน้นการลดมลภาวะทางน้ำและทางอากาศ การส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้โครงข่ายพื้นที่สีเขียวเพื่อช่วยลดปัญหาเกาะความร้อน (Urban heat island) เพิ่มร่มเงาให้เกิดสภาวะน่าสบายในการเดินทางในเมือง
4) ความงามดึงดูดของเมือง (Urban attractiveness) การพัฒนาควรสร้างให้โครงข่ายเกิดความงามสดชื่นจากพืชพันธุ์ตามถนน เพื่อปรับสภาวะให้ผู้เดินทางในเมืองมีสุขภาวะทางจิตที่ดี นอกจากนี้ ณจุดที่เป็นจุดเชื่อมต่อ (Node) สําคัญของโครงข่ายควรพัฒนาการออกแบบที่สร้างให้เกิดพื้นที่เชิงสัญลักษณ์ที่มีอัตลักษณ์พิเศษตามลักษณะเฉพาะของพื้นที่ สามารถดึงดูดผู้เดินทางและนักท่องเที่ยวมาใช้พื้นที่มากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ
5) ความเป็นไปได้ (Possibility) เป็นกรอบสําคัญหนึ่งในการพัฒนา ทั้งความเป็นไปได้เชิงกายภาพ สิ่งแวดล้อม การเงิน กฎหมาย สังคมและเทคโนโลยี เป็นสิ่งจําเป็นที่จะทําให้โครงการและองค์ประกอบของโครงการเกิดขึ้นได้สัญลักษณ์ที่มีอัตลักษณ์พิเศษตามลักษณะเฉพาะของพื้นที่ สามารถดึงดูดผู้เดินทางและนักท่องเที่ยวมาใช้พื้นที่มากขึ้น
6) การอนุรักษ์วัฒนธรรม (Cultural preservation) ในพื้นที่อนุรักษ์วัฒนธรรมเดิมจะต้องมีการพิจารณาการออกแบบรายละเอียดให้สอดคล้องผสมผสานเข้ากัน ไม่ทําลายวิถีชีวิตที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ส่งเสริม
7) การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน (Private sector corporation) ส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาโครงข่าย เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับสภาพทางกายภาพและการใช้งานเดิมที่เกี่ยวข้อง
